คุมน้ำตาลเบาหวาน

คุมน้ำตาลเบาหวาน


             คุมน้ำตาลเบาหวาน เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากหากไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในระยะสั้นและระยะยาวได้ อาจเสี่ยงต่อโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดง ที่จะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคจอประสาทตาผิดปกติ โรคไต และโรคระบบประสาท ที่พบได้ทั้งในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่วนภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงใหญ่ 

 

             พบว่าการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีในผู้เป็นเบาหวาน สามารถลดการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ลดการตายจากทุกสาเหตุของผู้เป็นเบาหวานได้

 

             ซึ่งตัวชี้วัดที่บอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดคือ ค่า A1C (เอวันซี) ซึ่งถึงจะบอกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดย้อนหลังไปเป็นเวลา 2-3 เดือน โดยทั่วไปค่าเอวันซีที่เหมาะสมในผู้เป็นเบาหวานคือ มีค่าน้อยกว่า 7% ค่าเอวันซีอาจจะสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ โดยที่แพทย์ผู้รักษาจะปรับให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละรายไป 

 

             อีกช่องทางหนึ่งคือ การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วเองที่บ้าน (SMBG) จะเป็นตัวช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้ดี หากผู้ป่วยเบาหวานในช่วงต้นควรตรวจทุก 2-3 วัน ถ้าควบคุมได้ดีแล้ว อาจตรวจทุก 1-2 สัปดาห์ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจทุกวัน 

 

             เกณฑ์ของค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม คือ ระดับน้ำตาลในเลือดเวลาเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนควรมีค่า 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารควรมีค่าต่ำกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 

 

             การป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานนั้น อาศัยทั้งการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี การควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท การควบคุมไขมันไม่ดี(แอลดีแอล, LDL) ในผู้เป็นเบาหวานทั่วไปให้มีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และในผู้เป็นเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหลอดเลือดสมองมีค่าต่ำกว่า70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 

 

             การควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 คือระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ควบคุมความดันโลหิตให้ดี สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานได้ 

 

             การควบคุมจะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารและการรับประทานยาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการสั่งยามา จะต้องรับประทานให้ตรงเวลา ถูกต้อง และสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้คือการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ สุขภาพดีดี.com ได้ทำการรวบรวม วิธีการควบคุมน้ำตาลง่ายๆ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่เป็นเบาหวานเท่านั้น คนที่ไม่ป่วยก็สามารถนำวิธีดังกล่าวไปปรับใช้ได้  ดังนี้

 

 

ลดน้ำหวานและของหวาน

 

  • หากติดน้ำหวาน เลือกทานหวานน้อย ไม่หวานเลย หรือใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทดแทน สำหรับผู้ที่ติดการดื่มน้ำหวานเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายนั้น กรณีที่ชงดื่มเองให้เริ่มจากการที่ลดปริมาณน้ำตาลลงแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นไม่เติมเพิ่ม ถ้าหากสั่งซื้อจากร้าน ควรสั่งให้ติดปากว่า ขอหวานน้อย หรือไม่หวานเลย ให้เกิดความเคยชินค่ะ

 

อ่านฉลากให้เป็นนิสัย

 

  • อ่านฉลากให้ติดเป็นนิสัย โดยก่อนที่จะทำการซื้อสินค้าต่างๆในห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ ให้ฝึกอ่านฉลากข้างขวด หรือข้างซองให้ติดเป็นนิสัย เพื่อที่จะได้ทราบว่าส่วนผสมต่างๆในอาหารที่เรากำลังจะรับประทานนั้นมีส่วนผสมของอะไรบ้าง และเป็นมิตรหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายเราหรือไม่ และเลือกอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานโดยเฉพาะได้

 

ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

 

  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ การดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เนื่องจากหากร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะส่งผลให้เลือดข้น และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีแนวโน้มสูงได้ โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับร่างกายทุกๆคนคือปริมาณ 8-10 แก้ว ต่อ 1 วัน หรืออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร จะช่วยดับกระหายและทำให้เรามีความอยากดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานของหวานน้อยลง ซึ่งจะส่งผลดีกับร่างกายในระยะยาวเนื่องจากเมื่อเราอิ่มท้องแล้ว เราก็จะไม่รับประทานจุกจิก

 

รับประทานผัก/ผลไม้ให้มากขึ้น

 

  • กินผักมากกว่าข้าว เมื่อร่างกายเราได้รับประทานผักหรือผลไม้มากขึ้น จะทำให้ร่างกายของเราได้รับไฟเบอร์มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย และจะทำให้ร่างกายเราสามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้ และไม่ก่อให้เกิดการสะสมสารตกค้างในร่างกาย อีกทั้งในผักและผลไม้มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย

 

ออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใส

 

  • ขยับร่างกายให้มากขึ้น การขยับร่างกายหรือการออกกำลังกายจะเสริมให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนจากไขมันเป็นกล้ามเนื้อ ซึ่งการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ถือว่าเป็นการเพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้ร่างกายไม่สะสมพลังงานส่วนเกินที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มากเกินไป  ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *