ภัยอันตรายของกาแฟ
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่บริโภคกันแพร่หลายทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งการรับประทานกาแฟเป็นเหมือนกิจวัตรประจำวัน เนื่องในกาแฟมีสารสำคัญหลายอย่างที่ทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว กระปรี้กระเปร่าอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากาแฟจะมีประโยชน์ แต่ก็ยังมีโทษเช่นกัน อาจจะทำให้นอนไม่หลับ ใจสั่น และความดันโลหิตสูง
ด้วยเหตุนี้การดื่มกาแฟโดยเฉพาะในปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง อย่างไรก็ตามในกาแฟมีสารประเภท แอนติออกซิแดนต์ (antioxidants) ซึ่งช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ จึงอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง ซึ่งวันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ภัยอันตรายของกาแฟ ที่เราอาจจะไม่คาดคิด มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าในส่วนประกอบของกาแฟนั้นมีสารอะไรบ้าง
1. คาเฟอีน (caffeine) มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองให้ตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่าและนอนไม่หลับ
2. สารกลุ่มไดเทอร์พีน (diterpenes) เช่น คาเฟสทอล (cafestol) คาเวออล (kahweol) สารในกลุ่มนี้ทำให้โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น จึงอาจรบกวนการคุมระดับไขมันในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
3. สารกลุ่มแอนติออกซิแดนต์ ซึ่งมีหลายกลุ่ม มีทั้งกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenols) เช่น กรดคลอโรจินิก (chlorogenic acid) กรดคาเฟอิก (caffeic acid), กลุ่มเมลานอยด์ (melanoids), กลุ่มควิไนด์ (quinides), กลุ่มลิกแนน (lignans) เป็นต้น
โรคที่เสี่ยงสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ |
1. โรคนอนไม่หลับ
ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟก่อนเข้านอนเนื่องจากในกาแฟมีสารคาเฟอีน (caffeine)มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองให้ตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่าและนอนไม่หลับ
หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากจนเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟปริมาณมากในเวลาใกล้ๆกัน ควรเว้นระยะห่างในการดื่มบ้าง เช่น เช้า และ บ่าย เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตทั้งขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังการดื่มและอาจเพิ่มอยู่นาน 3 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่คุมความดันโลหิตได้ดีอาจไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
3. โรคกระเพาะอาหาร
เนื่องจากกาแฟจะช่วยให้ร่างกายเราผลิตน้ำย่อยมากขึ้น ในกรณีที่ผู้ดื่มเป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว อาจจะทำให้เป็นหนักขึ้นเนื่องจากเมื่อปริมาณน้ำย่อยมากขึ้น หากเราท้องว่าง น้ำย่อยนั้นจะกัดกระเพาะของเรา
4. โรคกระดูกพรุน
เนื่องจากคาเฟอีนเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ อาจทำให้ความหนาแน่นแร่ธาตุในกระดูกลดลงเล็กน้อย แม้ไม่ถึงระดับที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
5. โรคหัวใจ
เนื่องจากกาแฟทำให้ใจสั่น และกระตุ้นให้การทำงานของหัวใจหนักขึ้น ถ้าหากผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากเกินไปนั้นจะกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหากทราบว่าเรามีความเสี่ยงกับโรคหัวใจ ควรจะรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
6. ลดประสิทธิภาพของการดูดซึมวิตามินบางชนิด
ยกตัวอย่างเช่นวิตามิน B1 ที่เป็นตัวช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย และระบบประสาท หากดื่มกาแฟในปริมาณมากเกินไปจะทำให้กาแฟ หรือสารในกาแฟนั้นขัดขวางการดูดซึมวิตามินในร่างกาย
สรุป ดื่มการแฟนั้นไม่ได้มีแค่เพียงประโยชน์ แต่ก็ยังมีโทษด้วยเช่นกันถ้าหากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป ดังนั้น สุขภาพดีดี.com แนะนำทุกๆท่านว่าให้รับประทานแต่พอดี ในปริมาณที่เหมาะสม และออกกำลังกาย หลับพักผ่อน เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีในระยะยาวค่ะ
Thanks for sharing. I read many of your blog posts, cool, your blog is very good.
Your point of view caught my eye and was very interesting. Thanks. I have a question for you.