ยาเลื่อนประจำเดือนทานอย่างไรให้ปลอดภัย
![](https://healthdailycenter.com/wp-content/uploads/2023/06/ประจำเดือน-เฮลปก-1170x700.jpg)
สาวๆหลายๆคนกังวลว่าวันนั้นของเดือนจะมาในวันที่มีธุระรึเปล่า…บางคนมีเเผนวางจะไปเที่ยวทะเล อวดชุดบิกีนี่ บางทีต้องอดไป เพราะวันนั้นของเดือน เเต่ก็คงเคยได้ยินถึงยาที่สามารถช่วยเลื่อนการมีประจำเดือนออกไปได้ นั่นก็คือ ยาเลื่อนประจำเดือนนั่นเอง บางคนก็อาจจะเคยใช้ หรือ บางคนอาจจะยังไม่เคย เเละก็มีความกังวลว่า ยาเลื่อนประจำเดือนเมื่อทานเเล้วจะมีผลอะไรรึเปล่า…วันนี้ Health Daily จะพามาทำความรู้จัก เเละ วิธีการทาน ยาเลื่อนประจำเดือนทานอย่างไรให้ปลอดภัย
![](https://healthdailycenter.com/wp-content/uploads/2023/06/menstruation-period-accessories-on-blue-background-2021-09-02-20-19-37-utc-1170x700.jpg)
ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร?
ยาเลื่อนประจำเดือน คือ ยาที่รับประทานเข้าไปแล้วสามารถช่วยให้ประจำเดือนที่จะมาถึงในรอบวันตามปกติ ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันอื่นได้ โดยการทำงานของยาเลื่อนประจำเดือน คือ ยาจะเข้าไปออกฤทธิ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน และจะออกฤทธิ์ไปจนกว่าจะหยุดกินยา เช่น หากเราต้องการเลื่อนประจำเดือนไป 3 วัน เราก็ทานยาไป 3 วัน เเละวันที่ 4 ให้หยุดทานยา ประจำเดือนของเราก็จะมาหลังจากนั้น 2-3 วันค่ะ
![](https://healthdailycenter.com/wp-content/uploads/2023/06/drugs-2022-12-15-20-38-28-utc-1170x700.jpg)
วิธีกินยาเลื่อนประจำเดือนอย่างถูกต้อง
ยาเลื่อนประจำเดือน ใช้กินก่อนวันที่ประจำเดือนจะมาอย่างน้อย 3-5 วัน โดยต้องกินยาตามน้ำหนักตัว
น้ำหนักตัวน้อยกว่า 60 กิโลกรัม กินยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
น้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม กินยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
และเมื่อหยุดกินยา ประจำเดือนจะมาภายใน 2-3 วัน
![](https://healthdailycenter.com/wp-content/uploads/2023/06/redhead-caucasian-woman-with-menstrual-period-cram-2022-05-06-01-50-53-utc-1170x700.jpg)
ข้อควรระวังในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน
ไม่ควรกินยาเลื่อนประจำเดือนติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาถี่ ประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนอาจไม่มาในครั้งต่อๆ ไปได้ และยังอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม คลื่นไส้ หรือวิงเวียนศีรษะ **ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ทานยาเลื่อนประจำเดือนจะมีอาการเหล่านี้**
หมายเหตุ กลุ่มคนที่ไม่ควรรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนอีกด้วย เพราะอาจแสดงอาการของผลข้างเคียงรุนแรงกว่าคนทั่วไป เช่น
- หญิงที่กำลังให้นมบุตร
- ผู้ที่เคย หรือกำลังเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งเต้านม
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ โรคอ้วน หรือมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน
ที่มา : คณะแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล