สังเกตอาการเสี่ยง!!ฝีดาษลิง

วันนี้ Health Daily จะพามาทำรู้จักกับ “โรคฝีดาษลิง” และมา สังเกตอาการเสี่ยง!!ฝีดาษลิง ที่ช่วงนี้กำลังระบาดในประเทศของเรากันค่ะ ฝีดาษลิง (Monkeypox) พบครั้งแรกในประเทศหนึ่งของทวีปแอฟริกา เคยระบาดมาแล้วในอดีตหลายครั้งและพบผู้ติดเชื้ออีกหลายประเทศทั่วโลก โรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์แอฟริกากลาง มีความรุนแรงมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิต และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมาก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ การระบาดของฝีดาษลิงมีสาเหตุหลักมาจาก “คน” มีการสัมผัสเชื้อในพื้นที่ ที่มีการระบาดและมีการเดินทางไปยังพื้นที่อื่นทำให้ไวรัสแพร่กระจาย เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในเลือด ของเหลวในร่างกาย ตุ่มฝี หยดละอองจากทางเดินหายใจ และพบในอุจจาระด้วยมา สังเกตอาการเสี่ยง!!ฝีดาษลิงไปพร้อมกันค่ะ….

เช็คอาการโรคฝีดาษลิง

  • ระยะฟักตัวของโรค อยู่ระหว่าง 5 วัน –3 สัปดาห์ ก่อนที่จะแสดงอาการ
  • อาการเริ่มจากมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง
  • เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีตุ่มฝีประมาณไม่เกิน 3 วันหลังจากมีไข้ ส่วนใหญ่ตุ่มฝีจะเริ่มเกิดที่ใบหน้าและในรายที่มีอาการรุนแรง ก็จะมีตุ่มฝีกระจายไปทั่วร่างกาย รวมถึงฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย
  • บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย
  • สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้

การติดต่อและการแพร่เชื้อของโรคฝีดาษลิง

การติดต่อจากสัตว์สู่คน  ฝีดาษลิง ติดต่อได้จากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือการกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อที่ไม่ปรุงสุก โดยในทวีปแอฟริกาพบโรคฝีดาษลิงในกลุ่มสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู และลิงบางชนิด แหล่งรังโรคตามธรรมชาติยังไม่ชัดเจนแต่มีความเป็นไปได้สูงที่สุดที่จะเป็นกลุ่มสัตว์ฟันแทะ 

การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ ฝีดาษลิงติดต่อจากมนุษย์ เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจจากผู้ติดเชื้อ บาดแผล หรือสิ่งของที่ผู้ติดเชื้อสัมผัส การติดเชื้อผ่านละอองฝอยมักต้องใช้เวลาในการสัมผัสตัวต่อตัว จึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกับผู้ติดเชื้อเพิ่มโอกาสติดเชื้อมากขึ้น มีโอกาสติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางรกหรือระหว่างคลอด  

ป้องกันอย่างไร

  • เนื่องจากเชื้ออยู่ในลักษณะหยดละอองจากทางเดินหายใจ การเว้นระยะห่างและไม่สัมผัสผู้ป่วยจึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และสวมหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษจะมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อฝีดาษลิงสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตามอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วแค่นี้ก็เป็นเกราะป้องกันร่างกายให้แข็งแรง และมีภูมิต้านทานได้แล้วค่า ช่วงนี้ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะค้า

ที่มา : โรงพยาบาลศิครินทร์

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *