โซเดียมอันตรายอย่างไร

โซเดียมอันตรายอย่างไร

 

            อาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียม หากเรารับประทานเข้าไปในปริมาณที่มาก จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้หรือไม่ และควรรับประทานอย่างไรให้เกิดประโยชน์ วันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนในหัวข้อ โซเดียมอันตรายอย่างไร ให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ เริ่มกันที่ทำความรู้จักกับโซเดียมกันก่อน

            โซเดียม คือ เกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกาย ซึ่งสามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ในไตและลำไส้เล็ก โซเดียมพบในอาหาร เนื้อสัตว์ อาหารจากธรรมชาติ นอกจากนั้น เราบริโภคโซเดียมในรูปแบบของเกลือแกง อาหารสำเร็จรูป วัตถุปรุงรส ตลอดจนถึงขนมกรุบกรอบที่ใส่ผงฟูทุกชนิด

 

            ร่างกายต้องการปริมาณโซเดียมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกาย เพศ และอายุ โดยทั่วไปแล้วสามารถบริโภคโซเดียมสูงสุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อเทียบเป็นเกลือป่นอยู่ที่ประมาณ  1  ช้อนชาหรือ มิลลิกรัม  โดยปกติแล้วอาหารจากธรรมชาติที่บริโภคทุกวันก็มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว

 

โรคที่เกิดจากกาได้รับโซเดียมมากเกินไป

            1. โรคความดันโลหิตสูง โดยปกติแล้วร้างกายของเราจะขับโซเดียมออกจากไต แต่ถ้ามีมากเกินไปร่างกายไม่สามารถขับออกได้หมด ไตก็จะทำงานหนักจนเกิดอาการเสื่อม ทำให้ขับโซเดียมได้น้อยลง ในที่สุดก็จะเป็นความดันโลหิตสูงถาวร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ “ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 10 ล้านคน”

 

            2. ไตวายเรื้อรัง เมื่อความดันโลหิตสูงจะส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ เป็นลำดับโดยเฉพาะไตที่ต้องทำงานหนักมากขึ้นจนเป็นไตวายเรื้อรัง “ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไต 7 ล้านคน” 

 

            3. เส้นเลือดอุดตัน ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ ความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เต้นเร็วขึ้นและหากปริมาณของเหลวในร่างกายมากเกินไปก็จะทำให้เกิดอาการเส้นเลือดอุดตันและเสี่ยงที่หัวใจจะวาย หัวใจขาดเลือด ไปจนถึงเส้นเลือดในสมองแตกทำให้เสียชีวิต หรือกลายเป็น อัมพฤกษ์ – อัมพาต ได้ในที่สุด “ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต 5 แสนคน”

 

            4. โรคกระดูกพรุน เพราะเมื่อร่างกายได้รับโซเดียมก็จะขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น โดยขับเอาแคลเซียมออกมาด้วย ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมจนเกิดกระดูกเสื่อมในที่สุด

 

            5. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เพราะการกินโซเดียมมากๆ จะไปทำงายผนังกระเพาะอาหาร จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ส่วนคนที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วนั้นการกกินโซเดียมมากๆ จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

 

ลดโซเดียมทำอย่างไร ?

            1. หลีกเลี่ยงผงชูรสและผงปรุงรส เพราะถึงแม้จะมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือ แต่ผงชูรสไม่มีรสชาติเค็มเหมือนเกลือ จึงทำให้คนปรุงอาหารกระหน่ำใส่ลงไปโดยไม่ยั้งมือ เพราะเชื่อว่าจะช่วยชูรสอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุให้ได้รับปริมาณโซเดียมที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นหากตั้งใจจะดูแลสุขภาพการงดผงชูรสในการปรุงอาหารจึงเป็นการหลีกเลี่ยงโซเดียมที่ดีอีกอีกวิธีหนึ่งทีเดียว

 

            2. ลดความจัดจ้านของรสชาติอาหาร เพราะอาหารยิ่งมีรสจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด หวานจัด ยิ่งต้องใส่เครื่องปรุงรสเค็มและผงชูรสมากขึ้นเพื่อให้อาหารครบรส หากชอบกินอาหารรสจัด ควรค่อยๆ ลดความจัดจ้านลง หรือกินอาหารรสจัดสลับกันไป

 

            3. รับประทานอาหารสด หลีกเลี่ยงอาหารที่เก็บไว้นาน เพราะมีโอกาสได้รับโซเดียมเพิ่มโดยไม่จำเป็นจากสารกันบูด

 

            4. หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน

 

            5. สังเกตปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการ และแบ่งกินให้พอเหมาะ เพราะการรู้จักสังเกตฉลากนอกจากจะทำให้รู้ว่าเราได้รับพลังงานจากอาหารมากน้อยเพียงใด ยังบอกถึงปริมาณโซเดียมที่ได้รับอีกด้วย ซึ่งอาหารมื้อหลักไม่ควรให้โซเดียมเกิน 600 มก./วัน ส่วน อาหารว่างไม่ควรมีโซเดียมเกิน 200 มก./วัน

 

            6. ใช้เกลือทดแทน อย่าวางใจปลอดโซเดียม เพราะเกลือทดแทนยังมีโซเดียมอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นให้ใส่แต่พอประมาณ

 

ที่มาข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *