โรคกระเพาะ หายได้ไหม

 

โรคกระเพาะ หายได้ไหม

            “โรคกระเพาะอาหาร” เป็นโรคสําคัญและพบได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา มีความเครียด หรือรับประทานยาที่กัดกระเพาะ ซึ่งอาการอาจมีความรุนแรงจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องหยุดงานหรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 

            เนื่องจาก กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยและกรดที่เข้มข้น สำหรับใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรดและน้ำย่อย จึงไม่ทำให้เกิดแผลในภาวะปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือปวดท้องบิดจนทรมาน 

            ดังนั้น ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป มีความรู้เบื้องต้นจะมีประโยชน์ในการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้น และป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี 

            วันนี้ สุขภาพดีดี.com  ได้รวบรวมข้อมูลดีๆเกี่ยวกับ โรคกระเพาะ หายได้ไหม มาให้ทุกคนได้อ่านและศึกษากันดังนี้

 

สาเหตุของโรคกระเพาะ

 

  • การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • การรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน
  • การรับประทาน ยาแก้อักเสบ หรือแก้ปวดจำพวกที่ใช้ในโรคกระดูกและข้อ
  • การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
  • ภาวะความเครียด, ความวิตกกังวล
  • การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อ Helicobacter pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเรา มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน
  • การมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นได้ทั้งเนื้อดี และเนื้อร้ายอีกด้วย

 

อาการของโรคกระเพาะ

 

  • ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่า หรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
  • อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด
  • อาการปวด มักจะเป็นๆหายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
  • ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
  • แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
  • โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดยตรง

 

การรักษาและดูแลด้วยตัวเอง

  • กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
  • กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
  • กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
  • ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
  • ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์

 

การรักษาด้วยยา

 

  • Antacid เป็นยาตัวแรกที่ใช้มานาน เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น และป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารสามารถทานยาได้ตลอดเวลา ออกฤทธิ์ระยะสั้น
  • Histamine receptor antagonists โดยจะช่วยยับยั้งการหลั่งกรด การรักษาด้วยยานี้จะได้ผลเมื่อใช้นานประมาณ 1 เดือน
  • Proton pump inhibitors เป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันแต่มีราคาที่ค่อนข้างแพง มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตกรดและช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นหายได้เร็วขึ้น
  • Mucosal protective agents มีผลในการเคลือบแผลทำให้หายได้เร็วขึ้น ไม่ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร
  • การรักษา H.pylori เมื่อมีการตรวจพบจะพิจารณาให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์

 

โรคกระเพาะหายได้ไหม ?

 

            ในความเป็นจริงแล้วโรคกระเพาะนั้นจะเป็นๆหายๆ เมื่อรักษาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งไม่สามารถหายขาดได้ 100% แต่อย่างไรก็ตามอาการจะหนักหรือเบานั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย หากมีการดูแลตัวเองตามข้อแนะนำ และทานยาตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสั่ง ก็จะสามารถบรรเทาอาการ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงกับกระเพาะอาหาร ด้วยความรักและห่วงใยจาก สุขภาพดีดี.com

 

ที่มาข้อมูล : รู้ทัน “โรคกระเพาะอาหาร” ด้วยการรักษาอย่างถูกวิธี

“โรคกระเพาะอาหารอักเสบ” 

 

 

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *