ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

 

           ไซนัส (Paranasal Sinuses) เป็นโพรงอากาศบริเวณใบหน้าและฐานของกระโหลกศีรษะที่มีรูเปิด ติดต่อกับช่องจมูก ภายในไซนัสมีเยื่อบาง ๆ บุอยู่แบบเดียวกับเยื่อบุในช่องปาก เยื่อบุบาง ๆ นี้ต่อเป็นผืนเดียวกันกับเยื่อบุภายในช่องจมูกและปาก และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ไซนัสอักเสบ

           ไซนัสอักเสบ หมายถึงโรคหรือภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อบุภายในไซนัสซึ่งเกิดจากการติดเชื้อหรือภูมิแพ้ในร่างกาย ทำให้เยื่อบุภายในเปิดการผิดปกติ และทำให้ช่องจมูกบวมและเกิดการอุดตัน 

           หากเกิดการผิดปกติ ร่างกายของเราจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามากจนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบหรือน้ำมูกเขียวข้น คนไข้โรคไซนัสอักเสบส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบอยู่บ่อยๆ และรวมถึงมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย สุขภาพดีดี.com ได้นำข้อมูลข่าวสารดีๆมาให้ทุกคนอ่านกันค่ะ

 

อาการไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

  1. เมื่อเราป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลง และจะเกิดการบวมของเยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสรูเปิดที่ติดต่อกันระหว่างจมูกและเกิดอาการไซซนัสตีบตัน  ถ้าการบวมของเยื่อภายในช่องจมูกและไซนัสหายสนิทภายใน 7 – 10 วัน จะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไซนัส แต่ถ้าไม่หายสนิท 0.5 – 10 เปอร์เซ็นต์อาจเป็นบ่อเกิดอาการไซนัสอักเสบได้
  2. โรคภูมิแพ้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไซนัสได้ เพราะภูมิแพ้ทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวมมีอาการเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งเราอาจจะเจอกับปัญหาโรคภูมิแพ้ได้มากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สกปรก มลภาวะต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
  3. ความผิดปกติภายในช่องจมูก ซึ่งอาจมองเห็นได้จากภายนอกหรือการตรวจภายในช่องจมูก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อากาศถ่ายเทภายในช่องจมูกผิดไปจากปกติ ทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัสและสร้างปัญหาไซนัสอักเสบตามมาได้
  4. ฟันผุ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไซนัสอักเสบได้ เนื่องจากอาจจะเกิดการติดเชื้อที่รากฟันและเข้าสู่ไซนัสบริเวณแก้มได้ง่าย เพราะกระดูกที่คั่นระหว่างรากฟันกับไซนัสบางมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูง อายุ มักเป็นที่ไซนัสข้างเดียว น้ำมูก เสมหะ และการหายใจอาจมีกลิ่นเหม็น ไซนัสอักเสบที่มีสาเหตุมาจากฟันผุมักจะเป็นฟันซี่ใดซี่หนึ่งเท่านั้น

อาการแบบไหนถึงเรียกว่าไซนัส?

            เนื่องจากโรคไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่เกิดอาการในบริเวณโพรงจมูก ดังนั้นคนทั่วไปจะคิดว่าเป็นอาการคัดจมูกธรรมดาทั่วไป เพราะเกิดจากการเป็นไข้หวัดหรือหวัดธรรมดา หรือแม้กระทั่งในบางกรณีที่เป็นบ่อยๆ จะคิดว่าตนเองนั้นเป็นโรคภูมิแพ้อาจอาการคล้างคลึงกัน แต่ในความจริงแล้ว อาการแพ้อาการ อาการไข้หวัด และไซนัสอักเสบนั้น มีความแตกต่างกันอยู่มาก วันนี้เราจะมาบอกวิธีสังเกตอาการ ถ้าใครมีอาการดังต่อไปนี้ก็ให้สงสัยได้ว่า โรคไซนัสอักเสบกำลังถามหา และควรพบแพทย์เพื่อหาการวินิจฉัยและรับการรักษาให้ตรงโรคต่อไป

 

  1. มีน้ำมูกหรือมีเสมหะที่มีลักษณะข้น สีเหลืองหรือเขียวในลำคอ หรือไหลลงคอ
  2. หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก
  3. ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือคนรอบข้างบอกว่ามีกลิ่น
  4. ไอ เจ็บคอ
  5. ปวดฟัน
  6. การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติแย่ลง
  7. ปวดบริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม จมูกบริเวณระหว่างคิ้ว และรอบๆ กระบอกตา
  8. อาจปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือไอเรื้อรังร่วมด้วย

 

ไซนัสมีอาการแทรกซ้อนอย่างไร

 

ไซนัสไม่เพียงแต่จะมีอาการเฉพาะของตัวโรคเท่านั้น แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้นานจะมีอาการต่างๆที่ตามมาในอนาคตทั้งในทางตาและทางสมอง ดังนี้

  1. ทางตา จะมีอาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ตาบวม เจ็บตา กลอกตาแล้วเจ็บ มองเห็นภาพซ้อนหรือ เห็นภาพไม่ชัด เป็นต้น 
  2. ทางสมอง จะมีอาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มองเห็นภาพซ้อนหรือ เห็นภาพไม่ชัด กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับไข้สูง เป็นต้น

 

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ

 

  1. ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด, ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก 
  2. ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มาก เช่น ปวดเล็กน้อย ไข้ต่ำกว่า38.3°C แนะนำให้สังเกตอาการและจะให้ใช้ยาต้านจุลชีพเมื่ออาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น หรือเลวลงภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงอายุ สุขภาพโดยทั่วไปและโรคประจำตัวของผู้ป่วยด้วย
  3. ยาต้านจุลชีพชนิดแรกที่ควรให้ คือ amoxicillin และควรให้เป็นระยะเวลา 10-14 วัน (ถ้าแพ้ penicillin อาจพิจารณาให้ trimethoprim/ sulfamethoxazole หรือ macrolides) และถ้าให้ยาต้านจุลชีพ 7 วัน แล้วไม่ดีขึ้น เชื้อก่อโรคอาจไม่ใช่แบคทีเรีย หรือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา ดังนั้นควรทำการเพาะเชื้อเพื่อ จะได้ใช้ยาที่เหมาะกับเชื้อก่อโรคนั้นๆ และเปลี่ยนยาต้านจุลชีพเป็นชนิดอื่นระหว่างรอผลเพาะเชื้อ หากผู้ป่วยเคยได้รับยาต้านจุลชีพมาก่อนภายใน 6 สัปดาห์ก่อน หรือในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้าง รุนแรง อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนกลุ่มหรือขนาดยา ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสามารถใช้ในการรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลันด้วย เพื่อบรรเทาอาการผู้ป่วย

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *