โรคหิบหืด

โรคหืด กับการ ออกกำลังกาย

หลาย ๆ คน อาจจะเข้าใจว่า การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด

จะสามารถทำได้ไหม หรือ หากเกิดอาการขึ้นมา จะเป็นอันตรายมากรึเปล่า

เพราะขนาดปกติ ไม่ออกกำลังกาย เรื่องของการหายใจ หรือ ช่วงของการเกิดอาการ

ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วย เกิดความกลัว หรือ กังวลมากอยู่แล้ว เนื่องจากเกิดภาวะ

ในการโฟล เรื่องของลมหายใจได้ไม่ทัน อันเป็นผลมาจากหลอดลม ของผู้ป่วย

ที่ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

 

แล้วการออกกำลังกายของผู้ป่วย เป็นไปได้หรือไม่

มีวิธีการ รูปแบบ ระยะเวลา และ การออกกำลังกาย ในชนิดไหน

ที่ผู้ป่วย โรคหอบหืด สามารถทำได้ และ เป็นผลดี รวมถึงวิธีการที่ถูกต้อง

หากไม่สามารถออกกำลังกาย ได้อย่างยาวนาน

 

American Thoracic Society

แนะนำการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม ด้วยวิธีการเดิน

หรือ ออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise)

โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และ ไม่ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป

เพราะอาจทำให้เกิดอาการหอบกำเริบได้ โดยเฉลี่ย

ควรอยู่ที่ประมาณ 60-75% ของ Maximum Heart Rate

 

 

โดยการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก กับผู้ป่วยหืด นอกจากจะทำให้อาการของโรคลดลง

ยังทำให้ความเสี่ยง ของการเกิดโรค น้อยลงอีกด้วย โดยการออกกำลังกาย

จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของ ปอด หัวใจ สามารถใช้วิธีการออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ

เช่น ว่ายน้ำ วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน โยคะ และอื่นๆ มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจนว่า การออกกำลังกาย

ช่วยในการควบคุมโรคหืด ได้อย่างดีเยี่ยม มีความสามารถ ในการออกกำลังกายมากขึ้น

ทนทานในการออกกำลังกายมากขึ้น ปอดดี เหนื่อยหอบลดลง และ คุณภาพชีวิตดีขึ้น

โดยควรออกกำลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์ และ ใช้เวลาออกกำลังกาย ประมาณ 20-30 นาที

 

ในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่สามารถออกกำลังกาย ได้ต่อเนื่อง 20 นาที แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างหนัก

เป็นช่วงๆ สลับกันไปทุก 2-3 นาที โดยให้ออกกำลังกายหนัก เป็นช่วง ๆ สับกัน 2-3 นาที

เพื่อเพิ่มความแข็งของกล้ามเนื้อ ไปควบคู่กันด้วย อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง

และ ความอดทน การออกกำลังกายที่นิยม คือโยคะ เนื่องจากการฝึกไม่หนักมาก

และ ยังช่วยควบคุมเรื่องคุมลมหายใจ รวมถึงสมาธิ และ ความเครียด

 

สำหรับผู้ป่วยโรคหืด ที่เป็นเด็ก มักจะพบอาการหืดกำเริบ ขณะออกกำลังกาย

(Exercise-Induced Asthma หรือ Bronchoconstriction: EIB)

โดยมักจะเกิดประมาณ 5-20 นาที หลังจากออกกำลังกาย หรือ เกิดหลังจากหยุดออกกำลังกาย

ไปแล้วประมาณ 5-10 นาที ซึ่งบางครั้ง อาการหอบเหนื่อยสามารถเกิดซ้ำ

หลังจากหยุดออกแรงไปแล้วหลายชั่วโมง โดยมักจะเกิดอาการ หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก

หรือ การออกกำลังกายระยะเวลานาน หรือในบางราย เกิดอาการแม้กระทั่ง การออกแรงเล็กน้อย

 

ภาวะนี้เกิดจาก กลไกหลักสองปัจจัยคือ Osmolar (Airway Drying) และ Thermal ซึ่งในช่วงออกกำลังกาย

จะเพิ่มการสูญเสียน้ำ และ ความร้อน ผ่านการหายใจ ทำให้เพิ่ม Osmolarity

มีผลทำให้ Bronchial Epithelial Cell หดตัว และเพิ่ม Intracellular Ion Concentration

และ เพิ่มการหลั่ง Mediators จาก Mast Cells นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ที่อากาศเย็นเกินไป

มีผลทำให้ Respiratory Heat Loss มีผลต่อ Parasympathetic Nervous System

เกิด Bronchoconstriction ผ่าน Vagus Nerve

 

 

ข้อแนะนำ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคหืด คือ

1. ควรมีการ warm-up ก่อนออกกำลังกาย และ cooling down หลังออกกำลังกาย

 

2: แนะนำให้ใส่หน้ากาก (face mask) หากต้องออกกำลังกายกลางแจ้ง

ที่มีอากาศแห้งและเย็น เพราะอาจกระตุ้นภาวะ EIB ได้

 

3.ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบริเวณที่มีมลพิษ หลีกเลี่ยงการออกกำลังเมื่อมีอาการป่วย

โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยสูบบุหรี่ ควรหยุดสูบ

 

4. อาการหืดกำเริบ จากการออกกำลังกาย แนะนำให้พ่นยาขยายหลอดลม

ชนิดออกฤทธิ์เร็ว 15 นาทีก่อนออกกำลังกาย เพื่อลดอาการหอบเหนื่อย

 

5. ระหว่างออกกำลังกายแล้วได้ยินเสียงหายใจ ผิดปกติ หายใจแรงเหนื่อยจนเกินไป

ให้ค่อยๆ ผ่อนแรงให้น้อยลง จนค่อย ๆ หยุดออกกำลัง และใช้ยาพ่นขยายหลอดลม

เพื่อบรรเทาอาการ หากยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาล

 

Ref : Asthma Talk By Dr.ANN

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *