ไอเดียกักตัว

ไอเดียกักตัว วิถีใหม่ “บนเรือยอชต์”

 

ใครเห็นก็คงต้องเป็นงง นี่่มันอะไรกันค้าบเนี้ย กักตัวตามโรงพยาบาล

สถานกักตัว โรงแรม หรือ สถานที่ที่รัฐ ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ แบบนั้น เป็นไป

ตามแบบปกติ แต่เมื่อไม่นานนี้ มีไอเดียใหม่ เกี่ยวกับการกักตัวรูปแบบใหม่

ถูกคิดออกมา ให้ทุกคนได้ อิหยังวะ กันเป็นแถบ คือ การกักตัว บนเรือยอชต์

อ่านไม่ผิดหรอกครับ เรือสำราญสุดหรู กำลังจะถูกนำมาสถานที่แห่งใหม่ ในการกักตัว

ของผู้ที่ กำลังอยู่ใน State ของการเฝ้าระวัง ว่าจะติดโควิดหรือเปล่า

หรือ เป็นสถานกักสำหรับผู้ที่ป่วยแล้วก็ตามที ประเด็นไม่ได้อยู่ว่า มันถูกคนที่ระวัง

หรือ คนที่เป็น แต่มันอยู่ตรงที่ว่า มันเป็นเรือยอชต์ ใครคิดกันครับเนี้ย

 

In detail มาด้วยกัน ว่าเรือยอชต์กักตัว คืออะไร งบเท่าไหร่ถึงจะพอ

เรือยอชต์ หรือ เรือสำราญ มูลค่าหลายพันล้าน ไฮไลท์คือการมอบประสบการณ์

การล่องไปในมหาสมุทร ในระดับของ Elite หรือ Hige End แน่นอนว่า ต้องใช้เม็ดเงิน

จำนวนนึงเลย สำหรับการเป็นสมาชิกล่องเรือสำราญ สุดหรูลำนี้

ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมาถึงการ Down ค่าของเรือมโหฬารสุดหรูลำนี้

คือมันไม่ถูกใช้งาน และ ได้แต่จอดนิ่ง ทั้งที่ก่อนหน้านี่ มันเคยเป็นไฮไลท์หนึ่ง

ของจังหวัดภูเก็ต เพื่อบริการนักเที่ยว ที่เข้าไปเที่ยวในภูเก็ต

 

ภูเก็ตในอดีต เป็นเมืองเที่ยวระดับต้นๆ ของโลก เพราะนั่งท่องเที่ยว

ต่างหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวอย่างมากมาย ในทุกๆ ปี แต่ปีศาจร้ายเปลี่ยนทุกอย่างไป

ให้ภูเก็ตกลับเงียบเหงา มาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว และปีศาจนั้น เรารู้จักกันดี

ในชื่อของ Covid – 19 มันไม่ได้เปลี่ยนแค่การทองเที่ยว ที่มีแค่จำนวนคน ที่เข้ามาน้อยลง

ดั่งสึนามิ กวาดทุกอย่างเรียบเป็นหน้ากลอง พอไม่มีคนเที่ยว ก็ไม่มีรายได้

บริการต่างๆ ที่เคยมี ไม่มีผู้ใช้บริการ หนึ่งในเหยื่อเหตุการณ์ครั้งนี้ คือเรือยอชต์

มาถูกจอดนิ่ง เติมน้ำมันไว้ กลางทะเลภูเก็ต โดยไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการ

เฉพาะปี 63 คลื่นโควิด ซัดรายได้หายกว่า 3.2 แสนล้านบ้าน ผู้คนในจังหวัด

ได้รับผลกระทบจากการเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นบริเวณกว้าง ขาดรายได้

และตกงานกันเป็นแถว

 

ไอเดียกักตัว ความหวังใหม่

กับโครงการ ที่ถูกคิดค้นได้ไม่นานมานี้ กับรูปแบบการกักตัว

ของการใช้ประโยชน์จากเรื่อยอชต์ ที่ถูกจอดทิ้ง ไหนๆก้ไม่ได้ขับแล้ว

เอามาทำเป็นที่กักตัวซะเลย สำหรับการสร้างรายได้ ในช่วงที่ขาดนักท่องเที่ยวแบบนี้

ได้ใช้ประโยชน์จากการออกไปล่องเรือ แถมยังได้ใช้เวลากักตัว 14 วัน แบบไม่น่าเบื่อ

ไปพร้อมกันได้อีกด้วย โดยโครงข่าย AIS NB-IoT

และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ในโครงการ  Digital Yacht Quarantine

มาใช้กับกระบวนการ จากสาธารณะสุข เพื่อกักตัวนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาในประเทศ

ในขณะที่การระบาดของโรค ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการกักตัวในทะเล

ก่อนขึ้นมาบนบก ให้ครบตามจำนวนวันที่กำหนด ซึ่งเครือข่าย Narrow Band

สมารถกระจายคลื่นไปได้ไกล ในทะเลกว่า 10 กิโลเมตร

 

ขณะที่ผู้ประกอบการ ของสมาคมเรือยอชต์ แห่งประเทศไทย

ให้การยอมรับว่า การพัฒนาโครงการดังกล่าว เป็นเหมือนการช่วยพยุง

เศรษฐกิจ และ ธุรกิจท่องเที่ยว โดยเรือยอชต์เป็นอย่างมาก

เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามา และ ใช้บริการเรือยอชต์ได้

ต้องอยู่ในระดับของ Elite ทำให้เม็ดเงินมหาศาล จะถูกกลับมาแพร่พระจายอีกครั้ง

ในจังหวัดภูเก็ต หลังจากครบวันแล้ว ลงจากเรือไป มีโอกาสกระจายรายได้

สู่ชุมชม ในจังหวัดภูเก็ตได้อีกด้วย เพราะเรือลำนึง มีโอกาสมีราคาสูงถึง

800-1000 ล้านบาท โดยบริการอาหารในระดับมื้อละ 1 แสนบาท

บวกกับค่าจอด ที่คิดราคาหลักหมื่นบาท รวมถึงเมื่อขึ้นฝั่ง อาจจะเข้าทำการพัก

ที่โรงแรมหรือรีสอร์ต ในมูลค่าเม็ดเงินระดับ 10 ล้านขึ้นไป ซึ่งปัจจัยที่จะเกิดขึ้น

จากการกักตัว ด้วยเรือยอชต์ จะเรียกรายได้ที่หายไปในแต่ละปี ได้กลับมาถึง

50-60% จากรายได้ทั้งหมด

 

เมื่อรายได้กลับมาที่เรือ มีความเป็นไปได้ ว่าจะส่งผลถึงชาวบ้าน ที่อาศัย

อยู่บนพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย ให้ได้มีรายได้ และ อาชีพอีกครั้ง

 

ขณะเดียวกัน มาตรการที่ถูกใช้บนเรือ ก่อนเข้าทำการกักตัว

เป็นไปตามหลักอนามัย ควบคุมโรคโควิด เพราะถูกควบคุมด้วย

เทคโนโลยีระดับสูง ทั้งเรื่องของการเช็คอุณหภูมิของนักท่องเที่ยว

ก่อนทำการขึ้นเรือ อัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณชีพจร

รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว เป็นต้น และต่อจากนั้น ส่งข้อมูล ที่ได้รับ

ไปยังแพทย์ และ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการต่างๆ

เพื่อทำการวิเคราะห์นักท่องเที่ยวแบบ Real Time ระหว่างกากกักตัว

14 วัน บนเรือยอชต์สุดหรู ซึ่งโมเดล ถ้าถูกพัฒนา และใช้งานจริง

จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลายพื้นที่

 

ถ้าให้วิเคราะห์ตรงๆ นี่เป็นโมเดลที่ดี เพราะใช้ประโยชน์เรือ

ดีกว่าต้องจอดนิ่งๆ และยังได้ใช้เป็นสถานที่กักตัวที่ห่างจากพื้นที่

ลดอัตราการติดต่อของโรคได้ เพราะเรืออยู่ในทะเลตลอด 14 วัน

 

REF : 36 PTV

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *